การตกแต่งผืนผ้า Thai fabric ด้วยเทคนิคใหม่ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย
Thai fabric หรือผ้าไทย ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม, ผ้าฝ้ายหรือผ้าพื้นเมืองต่างๆ นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาของไทยในการทอผ้า เพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มหรือของใช้ในครัวเรือนที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังผสมผสานศิลปะของลวดลายต่างๆ ที่เป็นแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิต ความเชื่อ ศาสนาหรือธรรมชาติ ที่เป็นเสน่ห์สำคัญของผ้าไทย นั่นเอง
แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป… คนไทยเรารับอิทธิพลของชาวตะวันตกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความคิด การใช้ชีวิตหรือแม้กระทั่งแฟชั่นเครื่องแต่งกาย ทำให้ Thai fabric หรือผ้าไทยแบบดั้งเดิมดูเก่าดูเฉยจนทำให้ผู้คนลดความนิยมในการใช้งานไปเรื่อยๆ ประกอบกับการพัฒนาของเทคโนโลยีของการทอผ้า ที่มีการใช้เส้นใยเทียมและมีเครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตผ้าได้รวดเร็วในจำนวนที่มากกว่าการใช้แรงคนในอดีต อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่ามาก ทำให้ชาวบ้านตามจังหวัดที่มีการทอผ้าพื้นเมืองจึงลดการทอผ้าด้วยมือแบบดั้งเดิม จนบางจังหวัดบางหมู่บ้านยกเลิกการทอผ้าไปเลยก็มี
เมื่อผ้าไทยหรือ Thai fabric เริ่มเลือนหายไป…
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนพระราชหฤทัยผ้าพื้นเมืองเกือบทุกประเภท จึงมีพระราชดำริให้มีการจัดตั้งมูลนิธิศิลปาชีพ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมการทอผ้าของชาวบ้านในชนบท โดยพระองค์ทรงเป็นผู้นำในการใช้ผ้าพื้นเมืองของไทย ในชีวิตประจำวัน และในงานพระราชพิธีต่างๆ อีกทั้งยังทรงนำผ้าไทยไปเผยแพร่ในต่างประเทศ จากนั้นเป็นต้นมา ก็เริ่มมีอีกหลายหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงการร่วมมือของเหล่าดีไซเนอร์หน้าใหม่ที่สร้างแบรนด์เสื้อผ้าของตนเองจากผ้าไทย
ด้วยเสน่ห์ของลวดลายผ้าไทยจากภูมิภาคต่างๆ ทำให้ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ๆ สนใจและออกแบบเสื้อผ้าที่นำ Thai fabric มาปรับเปลี่ยนรูปแบบทั้ง การออกแบบลวดลายจากผ้าทอใหม่ๆ หรือการตกแต่งผืนผ้าด้วยเทคนิคใหม่ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย ทำให้สินค้าที่ได้มีความแตกต่างและร่วมสมัยมากขึ้น รวมถึงการนำผ้าไทยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น การใส่เสื้อผ้าไทยกับกางเกงยีนส์, การใส่ชุดผ้าไหมกับรองเท้าผ้าใบ แม้กระทั่งการนำเหล่าผู้มีอิทธิพลในด้านแฟชั่น ทั้ง ศิลปิน ดารา นางแบบนายแบบหรือ Influencer ชื่อดังในช่องทางออนไลน์ต่างๆ มาใส่ผ้าไทยมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้มีการแต่งกายด้วยผ้าไทย
Thai fabric กับการผสมผสานเข้ากับแฟชั่นสมัยใหม่ ได้อย่างไรบ้าง?
- การพัฒนาลวดลายของ Thai fabric ให้มีความทันสมัย : โครงการสำคัญของกระทรวงวัฒนธรรมหลายๆ โครงการ ที่นับเป็นแรงพลังดันหลักที่ช่วยส่งเสริมให้ผ้าไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม อย่างโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนและประชาชนหลายส่วน จัดทั้งการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ รวมถึงการจัดประกวดการออกแบบผ้าไทยมาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี ทำให้ผู้ที่ร่วมโครงการได้นำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนตนเอง เช่น การพัฒนาลวดลายบนผืนผ้าใหม่ๆ การวางลายผ้าให้มีความทันสมัย ไม่ดูเชย มีความโดดเด่นช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลงาน อีกทั้งยังส่งออกไปร่วมงานแสดงเครื่องแต่งกายในงานแฟชั่นที่ประเทศต่างๆ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซียและสาธารณรัฐออสเตรีย
14 ชุมชนในประเทศไทยที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการนำร่อง ในการพัฒนา Thai fabric ให้ดำเนินการทอผ้าและสร้างสรรค์ผ้าไทยให้มีความแปลกใหม่ไปตามกระแสของวงการแฟชั่น พร้อมกับสืบสานและส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี นำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านมิติผ้าไทย ได้แก่
- ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ จังหวัดขอนแก่น
- ผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข จังหวัดขอนแก่น
- ไหมแต้มหมี่ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย จังหวัดขอนแก่น
- ผ้าขาวม้า อิมปานิ จังหวัดราชบุรี
- ผ้าฝ้ายทอมือ คอตตอนฟาร์ม จังหวัดเชียงใหม่
- เรือนไหมใบหม่อน จังหวัดสุรินทร์
- บาติกเดอนารา จังหวัดปัตตานี
- ชาคราฟท์ จังหวัดแพร่
- ผ้าซาโลมา ปาเต๊ะ จังหวัดนราธิวาส
- ไฑบาติก จังหวัดกระบี่
- ร้านฝ้ายเข็น จังหวัดอุบลราชธานี
- บ้านหนองอีบุตร จังหวัดกาฬสินธุ์
- ฉัตรทองไหมไทย จังหวัดนครราชสีมา
- ฅญา บาติก นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
- การเลือกใช้สีของ Thai fabric ให้เหมาะกับเทรนด์ของแฟชั่น : การทำหนังสือ Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022– 2023 ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิถีชีวิต ประเพณี หัตถศิลป์และผ้าทอภูมิปัญญาของประเทศไทย ที่ตอบสนองวิถีชีวิตของการบริโภคแฟชั่นร่วมสมัย ที่เปรียบเสมือนคู่มือสำหรับนักออกแบบทั่วทุกสาขาที่สามารถหยิบเอาไปใช้ต่อยอดในงานสาขาที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งมีทั้งข้อมูลของวัสดุสีที่เกิดจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง เทคนิคและวัสดุฤดูหนาว ผ้าไหมอีรี่ ผ้าทอขนแกะ ผ้าทอไหมลืบ ผ้าใยดาหลา ผ้าฝ้ายเข็นมือ ผ้าบุนวม ผ้าทอสร้างสรรค์ แนวคิดแห่งสีครามที่เป็น CIRCULAR THAI COLOUR TREND ด้วยการผสม ผสานสีธรรมชาติสู่ธรรมชาติได้เป็น 6 กลุ่มสีที่เป็นตัวแทนของ “สีโทนไทย” ที่จะสามารถโดดเด่นอยู่ในแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในอนาคต ดังนี้
- สีเหลือง : นำเสนอถึงความรุ่งเรืองหรูหราในยุค 1920 เหมาะกับกลุ่มผู้นำแฟชั่น ที่ชอบเข้าสังคมและมีเสน่ห์ดึงดูด
- สีแดง : เป็นสีที่ถูกใช้มากที่สุดสำหรับผ้าทอพื้นเมืองไทย เนื่องจากสื่อถึงความหมายที่คลาสสิกร่วมสมัย
- สีย้อมธรรมชาติ : เพื่อตอบโจทย์ความเป็นธรรมชาติสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สีเขียวโศก : แสดงถึงความฝันและความไร้เดียงสา ของกลุ่ม The Dreamer
- สีดำ : แสดงถึงอำนาจและกฎระเบียบ
- สีเทา : สัญลักษณ์ของการนำเสนอทางเลือกใหม่ให้กับสังคม เพื่อบ่งบอกถึงความต้องการเปลี่ยนแปลงและแก้ไข
- นำแรงบันดาลใจของศิลปะใส่ความคิดสร้างสรรค์ : การใช้ Thai fabric หรือผ้าไทยอย่าง ผ้าขาวม้า, ผ้าไหม, หรือผ้าฝ้ายลวดลายต่างๆ มาตัดตกแต่งให้เข้ากับเสื้อผ้าร่วมสมัย อย่าง กางเกงขาสั้น, เสื้อยืด, ชุดเดรส หรือแจ็คเก็ตยีนส์ เป็นกิมมิกเล็กๆ น้อยๆ ให้ผ้าไทยเข้ามาเป็นองค์ประกอบที่ดูดไม่เยอะและส่งเสริมให้เสื้อผ้าดูโดดเด่นยิ่งขึ้น
- นอกจากนำผ้าไทยมาใช้กับเสื้อผ้าแล้ว ก็สามารถนำมาใช้กับ Accessories ได้ : การนำ Thai fabric ไปใช้ทำผ้าพันคอ, กระเป๋าสะพาย, ย่ามหรือแม้กระทั่งนำไปตกแต่งเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กระเป๋าหนังแบรนด์ รวมไปถึงหมวกเก๋ๆ สักใบ แค่นี้ก็ช่วยให้คนหลายกลุ่มเข้าถึงผ้าไทยได้อย่างสนุก
- Mix & Match เก่ากับใหม่ให้ผ้าไทยเป็นแฟชั่นที่ลงตัว : อย่างที่กลายเป็นแฟชั่นฮิตกันเมื่อ 2-3 ปีก่อน คือการนำผ้ามัดย้อม หรือเสื้อย้อมครามมาใส่คู่กับกางเกงยีนส์, การนำผ้าทอพื้นเมืองมาตัดเป็นเสื้อฮู้ด, การแมทช์ชุดเดรสผ้าไหมกับรองเท้าผ้าใบเท่ๆ สักคู่ หรือเสื้อผ้าไหมแบบดั้งเดิมมาแมทช์กับกระโปรงหรือกางเกงยีนส์ ก็ช่วยทำให้ผ้าไทยดูสนุกและแฟชั่นมากขึ้นแล้ว
และนี่คือทั้งหมดของการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและบุคคลทั่วไปที่อยากให้ Thai fabric หรือผ้าไทยที่เป็นศิลปวัฒนธรรมสำคัญของไทยอีกอย่างหนึ่ง ดำรงคงอยู่ไว้ให้ยาวนาน โดยการพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้นเพื่อเพิ่มความนิยมในการใช้งานที่มากขึ้น และสามารถเป็นรายได้ของคนในประเทศต่อไปได้ บริษัท ด๊อบบี้เท็กซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด เองก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและนำเสนอผ้าไทยให้แก่ในและต่างประเทศ โดยเราเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผ้าฝ้ายมามากกว่า 20 ปี ทั้ง ผ้าฝ้ายทอมือ, ผ้าฝ้าย 100, ผ้าฝ้ายพื้นเมือง, ผ้าชินมัย, ผ้าฝ้ายสาลู หรือผ้าฝ้ายกบ ใต้เเบรนด์ DOBBYTEX