กว่าจะมาเป็นCotton Fabric ต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ กี่ขั้นตอน
Cotton Fabricเป็นผ้าที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติที่มีความนุ่มละมุนและมีความโปร่งสบาย ทำให้ผ้าฝ้ายเป็นผ้าที่ได้รับความนิยมในการนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เช่น เสื้อยืดผ้าฝ้าย เดรสผ้าฝ้าย กางเกงผ้าฝ้าย และของใช้ต่าง ๆ เช่น ปลอกหมอนผ้าฝ้าย กระเป๋าผ้าฝ้าย และผ้าม่าน แต่รู้หรือไม่ว่าผ้าฝ้ายนั้นจริง ๆ แล้วมีหลายเกรด แล้วมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ลองมาดูกันว่ากรรมวิธีการผลิตผ้าฝ้ายจนออกมาเป็นผ้าฝ้ายเกรดต่าง ๆ มีวิธีการอย่างไรบ้าง
ในกระบวนการผลิตเส้นใยของCotton Fabricนั้น เริ่มตั้งแต่การแยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย หรือที่เรียกกันว่าการ “อีดฝ้าย” หรือ “อิ้วฝ้าย” โดยการคัดแยกที่มีคุณภาพจะต้องแยกผลฝ้ายหรือสมอฝ้ายออกเป็นสมอล่าง สมอกลาง และสมอปลาย เพราะสมอฝ้ายแต่ละชนิดจะมีคุณภาพเส้นใย ความเหนียว และความละเอียดอ่อนของเส้นใยที่ต่างกัน จากนั้นเมื่อทำการคัดแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้ายแล้ว จะมีการนำปุยฝ้ายมาตีให้ฟูแล้วนำไปปั่นเป็นเส้นด้าย ซึ่งกระบวนการในส่วนนี้จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของการทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากเส้นใยฝ้าย และการสางเส้นใยผ้าฝ้าย เพื่อให้ได้เส้นใยที่สามารถนำไปทอเป็นผ้าฝ้ายเกรดต่าง ๆ ต่อไป
การทำความสะอาดเส้นใยฝ้าย เพื่อนำไปทอเป็นCotton Fabricแต่ละเกรด
ขั้นตอนการทำความสะอาดเส้นใยผ้าฝ้ายนี้ หากเป็นการทำความสะอาดเส้นใยผ้าฝ้ายในระดับโรงงาน จะเรียกว่ากระบวนการโบลวรูม (Blowroom)
ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะสางเส้นใยCotton Fabricให้แยกออกจากกัน และเรียงตัวขนานกันมากขึ้น ไม่พันกันยุ่งเหยิงเหมือนตอนก่อนสางเส้นใยผ้าฝ้าย โดยเส้นใยผ้าฝ้ายที่เสร็จสิ้นจากกระบวนการนี้จะเรียกว่า เส้นสไลเวอร์ (Sliver) ซึ่งจะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการรีดปุย (Drawing) เพื่อจัดเรียงเส้นใยสไลเวอร์ให้ขนานกันและมีความสม่ำเสมอกันมากขึ้น จากนั้นจึงนำเส้นใยผ้าฝ้ายที่ได้ เข้าสู่กระบวนการปั่นด้ายต่อไป
เมื่อทำความสะอาดเส้นใยCotton Fabricในเบื้องต้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำเส้นใยที่ทำความสะอาดแล้ว ไปเข้าสู่กระบวนการสางด้ายและปั่นด้าย ซึ่งกระบวนการสางด้ายและปั่นด้ายนี้เป็นตัวกำหนดคุณภาพของเส้นใยผ้าฝ้าย ว่าจะมีความเหนียว ความนุ่มละเอียด และความหนาแน่นของเส้นใยอยู่ในระดับใด รวมถึงเป็นตัวกำหนดการเรียงตัวของเส้นใยผ้าฝ้ายและขนาดของเส้นใยด้วย โดยกระบวนการปั่นด้ายนี้มีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- การปั่นด้ายแบบวงแหวน (Ring Spinning) กระบวนการนี้คือการนำเส้นใยผ้าฝ้ายมาหวีเพื่อขจัดเส้นใยสั้น ๆ หรือ Noil ที่เกาะตัวอยู่บนเส้นใยผ้าฝ้ายให้หลุดออกไป จนเหลือแต่เส้นใยยาว ๆ และเป็นการขจัดจุดไข่ปลาในเส้นใยผ้าฝ้าย เพื่อให้เส้นใยผ้าฝ้ายมีการเรียงตัวขนานกันดี และมีความเรียบเนียนขึ้น จากนั้นจึงนำเส้นใยผ้าฝ้ายไปเข้าสู่กระบวนการโรฟวิ่ง (Roving) ที่มีการตีเกลียวเข้าไปในเส้นใย เพื่อทำให้เส้นสไลเวอร์มีขนาดเล็กลง และมีการจับตัวกันมากขึ้น ทำให้เส้นใยผ้าฝ้ายมีความเหนียวและไม่ขาดง่าย จากนั้นจึงนำเส้นด้ายผ้าฝ้ายไปกรอเพื่อได้เส้นด้ายที่ยาวขึ้น โดยเส้นด้ายที่นำมาผลิตเป็นผ้าฝ้าย ที่ผ่านกระบวนการปั่นแบบปั่นด้ายวงแหวนนี้ จะแบ่งออกเป็นเส้นด้าย 2 ชนิด ได้แก่ เส้นด้ายสาง (Carded Yarn) และเส้นด้ายหวี (Comb Yarn) ซึ่งความแตกต่างระหว่างการสางและการหวีเส้นใยนี้ ก็จะให้คุณภาพของผ้าฝ้ายที่แตกต่างกัน 2 แบบ ดังนี้
- เส้นใยCotton Fabric SEMI เส้นใยของผ้าฝ้ายชนิด SEMI ผลิตจากเส้นด้ายแบบสาง ที่จะมีการนำเส้นใยฝ้ายที่แยกออกจากเมล็ดแล้ว ไปสางทำความสะอาดด้วยเครื่องจักร เพื่อให้เศษสิ่งสกปรกต่าง ๆ ทั้งเมล็ดรวมถึงเปลือกสมอฝ้ายที่ยังหลงเหลือตกค้างอยู่ในเส้นใยฝ้ายหลุดออกไป และการสางเส้นใยผ้าฝ้ายจะทำให้เส้นใยที่ได้มีลักษณะเป็นเส้นใยสั้น เส้นใยผ้าฝ้ายชนิดนี้จึงมีความละเอียดอ่อนและความเหนียวของเส้นใยผ้าฝ้ายในระดับปานกลาง
- เส้นใยผ้าฝ้าย Cotton Comb เส้นใยผ้าฝ้ายชนิด Cotton Comb เป็นเส้นใยที่ผลิตจากเส้นด้ายแบบหวี ซึ่งผ่านการหวีทำความสะอาดด้วยเครื่องจักรอย่างละเอียด เพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่บนเส้นใยผ้าฝ้ายให้สะอาดหมดจดให้ได้มากที่สุด และเส้นใยผ้าฝ้ายที่ผ่านการหวีด้วยเครื่องจักรจะเป็นเส้นใยขนาดเล็กและยาว ซึ่งได้แก่ด้ายเบอร์ 32 ขึ้นไป ทำให้เป็นเส้นใยผ้าฝ้ายที่มีความละเอียดอ่อนและมีความเหนียวสูง เมื่อนำเส้นใยชนิด Cotton Comb มาทอเป็นผ้าฝ้าย ก็จะได้ผ้าฝ้ายที่มีความนุ่มละมุนและความเหนียวทนทาน และเนื้อผ้าฝ้ายจะมีความมันเงามากกว่าเส้นใยผ้าฝ้ายแบบ SEMI
- การปั่นด้ายแบบ Open End (O.E. Rotor Spinning) การปั่นด้ายแบบ O.E. Rotor นี้ เป็นการนำเส้นสไลเวอร์มาปั้นเป็นด้ายโดยตรง โดยไม่ผ่านกระบวนการสางหรือหวีเส้นใยผ้าฝ้ายเพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรก และไม่ผ่านกระบวนการจัดเรียงเส้นใยอย่างละเอียด มีแค่เพียงการนำเส้นสไลเวอร์ไปตีเกลียวและพันลงบนหลอดด้ายเท่านั้น โดยเส้นด้ายที่ได้จากกระบวนการ O.E. Roter นี้ จะได้เส้นใยผ้าฝ้ายที่เรียกว่า OE
- เส้นใยCotton Fabric OE เส้นใยผ้าฝ้ายชนิด OE เป็นเส้นใยที่ไม่มีความละเอียด เนื้อกระด้างกว่าเพราะขาดความละเอียดอ่อนของเส้นใยผ้าฝ้าย และมีความทนทานต่ำเพราะเส้นใยไม่ค่อยมีความเหนียว และเรียงตัวไม่ขนานกัน เส้นใยชนิดนี้เมื่อนำมาทอเป็นผ้าฝ้าย OE จึงทำให้เป็นผ้าฝ้ายเกรดต่ำที่สุด และมีราคาถูกที่สุดด้วย แต่ถึงอย่างนั้นเส้นใยผ้าฝ้าย OE ก็ยังสามารถนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายได้ แต่เนื้อผ้าจะมีความกระด้างมากกว่าและขาดง่าย
และหากคุณกำลังมองหาCotton Fabricที่ผลิตจากใยฝ้ายร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่มีความนุ่มละมุนและเบาสบาย ระบายอากาศได้ดี ลองเลือกใช้ผ้าฝ้ายจาก Dobbytex ที่ผลิตจากใยฝ้ายร้อยเปอร์เซ็นต์ และผ่านการทอด้วยเครื่องจักรโดยใช้เทคนิคที่ทำให้มีลวดลายบนผ้าและลักษณะที่เหมือนผ้าฝ้ายทอมือ พร้อมเทคนิคการย้อมสีผ้าฝ้ายที่ทำให้ได้สีสันสวยงาม สีติดทนนาน ไม่ตก สามารถนำไปใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและข้าวของเครื่องใช้ได้อย่างหลากหลาย