ตำนานของผ้าฝ้ายทอมือ

28 February 2023
DOBBYTEX ADMIN

hand woven cotton ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของโลก

ถ้าจะกล่าวว่า hand woven cotton ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของโลก รวมถึงทั้งของประเทศไทยด้วย ก็น่าจะไม่ถือว่าเป็นคำที่กล่าวเกินจริง… เพราะผ้าที่ผลิตจากเส้นใยฝ้ายนั้นมีความเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก จากหลักฐานทางโบราณที่บ่งบอกว่ามีการปลูกฝ้ายและปั่นฝ้ายมามากกว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาล จากการขุดพบผ้าฝ้ายในซากปรักหักพังของแหล่งโบราณคดี Mohenjo daro บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุของประเทศปากีสถาน แสดงให้เห็นว่าการนำเส้นใยฝ้ายมาถักทอเป็นเครื่องนุ่มห่มหรือเครื่องใช้ต่างๆ สำหรับมนุษย์นั้น มีการสืบสานกันมายาวนาน

ในประเทศไทยเองก็เช่นกัน การทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติโดยเฉพาะ hand woven cotton ถือเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า โดยแต่ละท้องถิ่นจะสร้างสรรค์ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แสดงออกถึงแนวคิด ความเชื่อหรือภูมิปัญญาลงบนผืนผ้าอย่างสวยงาม โดยการปลูกฝ้ายในประเทศไทยนั้นเรารับเอาพันธุ์ฝ้ายมาจากประเทศอินเดีย เมื่อนำมาทอเป็นเครื่องนุ่มห่มก็พบกว่ามีเนื้อนุ่ม โปร่งสบาย ระบายความร้อนได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศของไทย จึงทำให้ผ้าฝ้ายเป็นที่นิยมไปแต่ละท้องถื่นในประเทศไทยมากขึ้น

แหล่งผลิต “hand woven cotton” ในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีแหล่งปลูกฝ้ายอยู่ในหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดเลย, เพชรบูรณ์, นครสวรรค์, ลพบุรี, ปราจีนบุรี, สุโขทัย, เพชรบุรี, นครราชสีมาและกาญจนบุรี แต่ภูมิภาคที่นิยมทอผ้าฝ้ายส่วนใหญ่จะเป็นภาคเหนือและภาคอีสาน ส่วนพันธุ์ฝ้ายในประเทศไทยที่เป็นฝ้ายพื้นเมืองอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ

• ฝ้ายสีตุ่น : ดอกฝ้ายตุ่นมีขนาดเล็กสีน้ำตาล จึงเป็นฝ้ายที่ให้ปุยสีน้ำตาลอ่อนๆ มีปุยสั้นและไม่ค่อยฟู แต่มีลักษณะพิเศษคือมีเส้นใยที่นุ่มและเหนียว ใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการทำ hand woven cotton แบบพื้นเมือง ฝ้ายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมและมีราคาสูงกว่าฝ้ายสีขาว เพราะมีสีจากธรรมชาติที่สวยงามและคุณสมบัตินุ่มเหนียวและทนทานกว่าพันธุ์อื่น

• ฝ้ายสีขาว : ฝ้ายพันธุ์นี้มีสีขาวตามชื่อ เพราะมีปุยที่ยาวและฟูจึงมักนิยมนำมาใช้ทอผ้าในระดับอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่

วิถีชีวิตและความเชื่อ แรงบันดาลแห่งการสร้างสรรค์ลวดลายของ “hand woven cotton

การออกแบบลวดลายบนผืนผ้าที่ทอจากฝีมือของคนแต่ละท้องถิ่นในประเทศไทย ส่วนใหญ่ได้อิทธิพลและแรงบันดาลใจจากสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและความเชื่อต่างๆ อาทิ

✔ ลวดลายที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น ลายช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัณฑป หรือลายนาค ตามความเชื่อเรื่องพญานาคในตำนานพุทธศาสนา เป็นต้น

✔ ลวดลายที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น ลายดอกไม้หรือต้นไม้ต่างๆ อาทิดอกแก้ว, ลายดอกพิกุล, ลายดอกสร้อย, ลายหมากบก (กระบก), ลายต้นสน, ลายใบไผ่, ลายสร้อยดอกหมาก ฯลฯ หรือลายภูเขา, ลายถ้ำ, ลายน้ำไหล และลายสายฝน เป็นต้น

✔ ลวดลายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น ลายไก่, ลายกบ, ลายปู, ลายก้างปลา, ลายนกยูง หรือลายเต่าทอง เป็นต้น

✔ ลวดลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เช่น ลายขันหมาก, ลายคันไถ, ลายประกายเพชร, ลายสมอหรือลายโคม เป็นต้น

ซึ่งแต่ละลวดลายผสานเทคนิคการทอแต่ละแบบ ก็มักจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น

• ผ้ามัดหมี่ : ลวดลายของผ้ามัดหมี่ ส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจมาจากลายไทย, ลายฉลุไม้ตามอาคารไม้โบราณ ที่มักจะฉลุเป็นลายผลไม้ ดอกไม้ หรือสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว โดยผ้ามัดหมี่นิยมทอทั้งจากฝ้ายและไหมด้วยเช่นกัน

• ผ้าจก : ลวดลายที่เกิดขึ้นในผ้าทอจกนั้น ส่วนใหญ่มักเป็นลวดลายที่แฝงคติของความเชื่อต่างๆ เอาไว้ เช่น ลายนาค, ลายหงส์, ลายสิงห์, หรือลายไก่ เป็นต้น

• ผ้าขิด : ส่วนใหญ่นิยมทอเป็นลายเรขาคณิตขนาดใหญ่ เช่น รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด, รูปทรงสามเหลี่ยม เป็นต้น

• ผ้าแพรวา : เป็นลวดลายที่ผสมผสานระหว่างลายขิดและลายจก ซึ่งลายหลักที่นิยมได้แก่ ลายพันมหาอุ้มหงษ์, นาคสี่แขน และช่อขันหมาก เป็นต้น

• ผ้ายกดอก : ลวดลายของการทอผ้ายกดอกนี้จะมีลวดลายคล้ายกับแบบทอขิด แต่จะนิยมใช้ดิ้นเงินดิ้นทองเพื่อให้ต่างจากผ้าอื่นๆ และการทอผ้าชนิดนี้ใช้เวลานานมาก จึงทำให้มีราคาแพง

ศิลปะที่โดดเด่น ของ “hand woven cotton” จากจังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดอุบลราชธานีในสมัยโบราณเอง ก็มีการถักทอเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม หรือแม้แต่ผ้าห่ม หมอนเครื่องนอนต่างๆ ให้คนในครอบครัว โดยมีศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นชาวอีสานลงไปด้วย โดยลวดลายที่นิยมทอผ้าลายมัดหมี่บนผ้าซิ่น ได้แก่ ลายนาคน้อย, ลายพานไหว้ครู, ลายรั้วล้อมบ้าน, ลายช่อเทียน, ลายดาวเคียงเดือน ฯลฯ

ในตำนานเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานี ยังมีผ้าทอมืออีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ผ้าอัญญานาง” ที่เป็นผ้าซิ่นสำหรับสตรีชั้นสูงหรือภริยาของเจ้าเมือง เพราะคำว่า อัญญา ในภาษาอีสานโบราณเป็นเรียกคำแทนหรือนำหน้าชื่อเจ้านาย เจ้าเมืองหรือคนในราชวงศ์ นั่นเอง ซึ่งผ้าอัญญานางจะมีลวดลายที่มีความพิเศษที่แตกต่างจากผ้าซิ่นที่หญิงสามัญชนทั่วไปใช้ ตั้งแต่ลวดลาย สีสันรวมถึงขั้นตอนการทอที่พิเศษและยากลำบาก โดยลวดลายที่ขึ้นชื่อมากที่สุดก็คือ ซิ่นทิวมุกจกดาว ที่เป็นผ้านุ่งสำหรับอัญญานางเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช เล่าสืบกันมาว่า ช่างทอผู้ริเริ่มก็คือ อัญญานางเลื่อน เชื้อสายเจ้านายเมืองอุบล ในราวสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง

นอกจากนั้นก็ยังมี “ผ้ากาบบัว” ที่ถือเป็นลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดอุบลราชธานี โดย hand woven cotton ชนิดนี้มีสีของกาบบัวหรือกลีบบัว ประกอบไปด้วยสีขาว ชมพู เทา เขียว น้ำตาล ซึ่งไล่จากสีอ่อนไปแก่ อาจทอด้วยฝ้ายหรือไหม ประกอบด้วยเส้นยืน ย้อมอย่างน้อยสองสี เป็นริ้วตามลักษณะ“ซิ่นทิว” นอกจากนี้ยังทอพุ่งด้วยไหมปั่นเกลียวหางกระรอก, มัดหมี่และขิด

เสน่ห์ “hand woven cotton” จากศิลปะล้านนาไทย

ผ้าที่ทอจากาคเหนือหรือล้านนาในปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน โดยศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน โดยนิยมใช้ผ้าทอและผ้ายกทั้งฝ้ายและไหม มีเอกลักษณ์พิเศษคือการยกเป็นลวดลายด้วยไหมสีสอดดิ้นเงินและทองสำหรับการทอผ้าของเจ้านายและชนชั้นสูงนิยมลายแบบเรขาคณิต ลายดอกไม้เครือเถาและรูปสัตว์ต่างๆ โดยผ้าที่มีชื่อเสียงของทางภาคเหนือก็คือ ผ้าซิ่นตีนจก ที่มักจะทอกันในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่, อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากนั้นจังหวัดสุโขทัย เองก็โดดเด่นเรื่องผ้าเข็นและผ้ามุกต่อตีนจก หรือแถบจังหวัดพะเยา เชียงราย และน่าน ก็โดดเด่นเรื่อง hand woven cotton ลายน้ำไหล เป็นต้น

ส่วนผ้าพื้นบ้านของภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุด ก็คือ ผ้าไทยวนและผ้าไทลื้อ ที่มักใช้เป็นครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน และเครื่องบูชาตามความเชื่อที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะผ้าซิ่น ซึ่งในอดีตผ้าของล้านนามีอิทธิพลต่อราชสำนักในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เป็นอย่างมาก เพราะส่วนใหญ่ผ้าที่ใช้ในราชพิธีนั้นจะมาจากช่างทอที่สืบเชื้อสายมาจากล้านนาเป็นหลัก

การทอผ้าซิ่นและการสร้างลวดลายของ “hand woven cotton” จากศิลปะล้านนา มีดังนี้

• ลายล้วงหรือเกาะ คือการสร้างลายด้วยเส้นด้ายสีต่างๆ สอดลงไปในเส้นด้ายยืนตามจังหวะที่กำหนดให้เป็นลายคล้ายการสานขัด โดยผ้าลายล้วงที่มีชือเสียงคือ ผ้าลายน้ำไหล หรือ ผ้าลายน้ำไหลเมืองน่าน และยังมีลายอื่นๆ ที่เรียกชื่อตามลักษณะลาย เช่น ลายใบมีดหรือลายมีดโกน เป็นลายที่เกิดจากการล้วงสอดสีด้ายหลายๆ สีให้ห่างกันเป็นช่วงๆ เหมือนใบมีดบางๆ หรือลายจรวดมีลักษณะคล้ายจรวดกำลังพุ่ง, ลายน้ำไหลสายรุ้งเป็นลายที่พัฒนามาจากลายน้ำไหลโดยคั่นด้วยการสอดสี เป็นต้น

• ลายเก็บมุก คือการสร้างลวดลายด้วยการทอคล้ายกับการเก็บขิดของอีสาน ไม่ได้ล้วงด้วยมือ แต่จะเก็บลายด้วยไม้ไผ่เหลากลมปลายไม่แหลม เมื่อเก็บลายเสร็จแล้วจะสอดเส้นด้ายด้วยไม้เก็บลายชนิดต่างๆ

• ลายคาดก่านหรือมัดก่าน คือการสร้างลวดลายที่ใช้กรรมวิธีเช่นเดียวกับลายมัดหมี่ การคาด(มัด) ก่อนย้อมจะเป็นตัวกำหนดขนาดของลาย คล้ายลายมัดหมี่ ลายคาดก่านมักประดิษฐ์เป็นลวดลายเล็กๆ

แม้ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีสำหรับสิ่งทอมากมาย หรือแม้กระทั่งการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ที่มีทั้งความทนทานและสวยงามได้ตามความต้องการ แต่ผู้คนหลายชนชาติก็ยังคงหลงใหลความงามของลวดลายและการถักทอจากผ้าที่เป็นเส้นใยจากธรรมชาติ โดยเฉพาะ hand woven cotton ของไทย ที่มีเทคนิคการทอลวดลายที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ จนหลายครั้งในวงการแฟชั่นได้หยิบยกผ้าไทยนำไปดีไซน์เสื้อผ้าให้สวยงามและดูทันสมัยมากขึ้น นั่นเอง

บริษัท ด๊อบบี้เท็กซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผ้าฝ้ายมามากกว่า 20 ปี เรามีผ้าฝ้ายคุณภาพดีที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ทั้ง ผ้าฝ้าย 100, ผ้าฝ้ายพื้นเมือง, ผ้าชินมัย, ผ้าฝ้ายสาลู หรือผ้าฝ้ายกบ ใต้เเบรนด์ DOBBYTEX ที่ได้รับความไว้วางจากร้านขายผ้าทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

orderCotton Fabric- consult at :
phone : 095-6098163, 065-0564299, 081-1714553
Line ID : @Dobbytexfabric
WhatsApp : (+66) 847269009
Email : Dobbytexfabric@gmail.com
Website : www.dobbytexfabric.com

Tag


Order cotton-consult at

More articles from us

All